บทที่ 1 ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี


1.ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี    

การทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีโดยมีผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น  เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและผู้ร่วมงานนอกจากนั้น  อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อทรัพย์สินของสถานประกอบกิจการรวมทั้งก่อปัญหาทางสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานประกอบกิจการ
1.1ประเภทของสารเคมี
ปัจจุบันการติดฉลากสารเคมีจะใช้ ระบบเดียว กันทั่วโลก  คือระบบ GHS (Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals) องค์ประกอบของฉลากสารเคมี  ตามระบบ GHS ประกอบด้วย 7ส่วนหลัก ดังนี้ 
1) ชื่อผลิตภัณฑ์
2) รูปสัญญลักษณ์
3) คำเตือน
4) ข้อความแสดงความเป็นอันตราย
5) การระบุผู้ผลิตหรือจำหน่าย
6) ข้อควรระวังหรือข้อความเตือน
7) ข้อมูลเพิ่มเติม
 ระบบ GHS” (The Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals)  หรือ ระบบการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้เกิดการสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก ผ่านทาง ฉลาก และเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) โดยใช้เกณฑ์เดียวกันในการจำแนกประเภทความเป็นอันตราย หลักการและองค์ประกอบของระบบ GHS 

ตัวอย่างองค์ประกอบบนฉลากตามระบบ GHS


ตัวอย่างฉลากสารเคมี



 ป้ายแสดงถึงอันตรายของสารเคมี จะบ่งบอกให้ทราบถึงความรุนแรงของสารเคมี ตามมาตรฐาน NFPA (National Fire Protection Association)  ซึ่งป้ายจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมรูปข้าวหลามตัด (diamond sign) แบ่งเป็น  4 ส่วน มองดูเห็นเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด 4 รูปติดกัน ดังรูป โดยในแต่ละรูปสี่เหลี่ยมเล็ก จะแบ่ง ออกเป็น 4 สี โดย สีแดงอยู่ด้านบนสุด สีน้ำเงินอยู่ด้านซ้าย สีเหลืองอยู่ด้านขวา และสีขาวอยู่ด้านล่างของรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งแต่ละสีมีความหมาย ดังแสดงในตาราง


1.2 ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี
     ก่อนทำปฏิบัติการ
1) ศึกษาขั้นตอนวิธีการให้เข้าใจ
2) ศึกษาข้อมูลของสารเคมีและเทคนิคเครื่องมือต่างๆ
3) แต่งกายให้เหมาะสม

     ขณะทำปฎิบัติ

       1) ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป    
1.1 สวมแว่นตานิรภัยสมรักษ์ห้องปฏิบัติการและสวมผ้าปิดปาก    
1.2 ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติการ    
1.3 ไม่ทำการทดลองเพียงคนเดียว    
1.4 ไม่เล่นขณะที่ ทำปฏิบัติการ    
1.5 ทำ ตามขั้นตอนและวิธีการอย่างเคร่งครัด    
1.6 ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์มีความร้อน
      2) ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี    
2.1 อ่านชื่อสารให้แน่ใจก่อนนำไปใช้    
2.2 เคลื่อนย้ายสารเคมีด้วยความระมัดระวัง    
2.3 หันปากหลอดทดลองจากตัวเองและผู้อื่นเสมอ    
2.4 ห้ามชิมสารเคมี    
2.5 ห้ามเทน้ำลงกรดต้องให้กรดลงน้ำ    
2.6 ไม่เก็บสารเคมีที่เหลือเข้าขวดเดิม   
2.7 ทำสารเคมีหกให้เช็ด
     หลังทำปฏิบัติการ
1) ทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ
2) ก่อนออกจากห้องให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย

1.3 การกำจัดสารเคมี
1) สารเคมีที่เป็นของเหลว ละลายนำ้ได้ ไม่อันตราย มีค่า pH เป็นกลาง ไม่เกิน 1 ลิตร เทลงอ่างได้และเปิดน้ำตามากๆ2) สารละลายเข้ม้น เช่น กรดไฮโดรคลอริก ไม่ควรเทลงอ่าง ควรทำให้เจือจาง(มีค่า pH เป็นกลาง)ก่อนเทลงอ่าง

3)สารเคมีที่เป็นของแข็ง ไม่เป็นอันตราย ไม่เกิน 1 กิโลกรัม สามารถใส่ภาชนะที่ปิดมิด พร้อมติดฉลากให้ชัดเจน ก่อนทิ้งในที่ที่จัดเตรียมไว้
4)สารไวไฟ ตัวทำละลายที่ไม่ละลายน้ำ สารประกอบโลหะเป็นพิษ หรือสารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำ ทิ้งไว้ในที่ทางห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้


2.อุบัติเหตุจากสารเคมี
2.1การปฐมพยาบาลเมื่อร่างกายสัมผัสสารเคมี
 ให้ล้างผิวหนังในบริเวณที่ถูกสารเคมีโดยใช้น้ำสะอาดล้างให้มากที่สุด เพื่อทำให้เจือจางและขับออก ถ้าสารเคมีหกรดเสื้อผ้า ให้รีบถอดเสื้อผ้าออกก่อน ห้ามใช้สารแก้พิษใดๆ เทลงไปบนผิวหนัง เพราะอาจเกิดความร้อนจากปฏิกิริยาเคมีทำให้แผลกว้างและเจ็บมากขึ้น

2.2การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา
 ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดให้มากที่สุดทันที โดยเปิดเปลือกตาขึ้นให้น้ำไหลผ่านตาอย่างน้อย 15 นาที ป้ายขี้ผึ้งป้ายตา แล้วรีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว ห้ามใช้สารเคมีแก้พิษใดๆ ทั้งสิ้น

2.3การปฐมพยาบาลเมื่อสูดดมแก๊สพิษ
 ให้ย้ายผู้ได้รับสารเคมีนั้นออกจากบรรยากาศของสารเคมีไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ช่วยผายปอด หรือกระตุ้นการหายใจด้วยยาดมฉุนๆ

2.4การปฐมพยาบาลเมื่อโดนความร้อน



 ล้างด้วยน้ำสะอาดที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งเชื่อว่าจะมีผลช่วยลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณบาดแผลได้
หลังจากนั้นซับด้วยผ้าแห้งสะอาด แล้วสังเกตว่าถ้าผิวหนังมีรอยถลอก มีตุ่มพองใส หรือมีสีของผิวหนังเปลี่ยนไป ควรรีบไปพบแพทย์  ไม่ควรใส่ตัวยา/สารใด ๆ ทาลงบนบาดแผล ถ้าไม่แน่ใจในสรรพคุณที่ถูกต้องของยาชนิดนั้น เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อบาดแผล เพิ่มโอกาสการเกิดบาดแผลติดเชื้อ และทำให้รักษาได้ยากขึ้น

3.การวัดปริมาณสาร
3.1อุปกรณ์วัดปริมาตร




         

บีกเกอร์   มีหลายขนาดและมีความจุต่างกัน โดยที่ข้างบีกเกอร์จะมีตัวเลขระบุความจุ ของบีกเกอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถทราบปริมาตรของของเหลวที่บรรจุอยู่ได้อย่างคร่าวๆ
ขวดดรูปกรวย มีลักษณะเป็นทรงกรวย และมีความจุขนาดต่าง ๆ กัน แต่ที่นิยมใช้กันมากมีความจุเป็น 250-500 มล. สามารถใช้ได้ในหลายกรณี เช่น ในการไตเตรท
กระบอกตวง  ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดปริมาตรของของเหลวที่มีอุณภูมิไม่สูงกว่าอุณภูมิของห้องปฏิบัติการ กระบอกตวงไม่สามารถใช้วัดของเหลวที่มีอุณภูมิสูงได้เนื่องจากอาจจะทำให้กระบอกตวงแตกได้ กระบอกตวงจะบอกปริมาตรของของเหลวอย่างคร่าว ๆ
ปิเปตต์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดปริมาตรได้อย่างใกล้เคียง
บิวเรตต์ เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่มีขีดบอกปริมาตรต่างๆ และมีก็อกสำหรับเปิด-ปิด เพื่อบังคับการไหลของของเหลว บิวเรทเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ มีขนาดตั้งแต่ 10 มล. จนถึง 100 มล. บิวเรทสามารถวัดปริมาตรได้อย่างใกล้เคียงความจริงมากที่สุด แต่ก็ยังมีความผิดพลาดอยู่เล็กน้อย
ขวดกำหนดปริมาตร เป็นเครื่องมือที่ใช้เตรียมสารละลายมาตรฐานหรือสารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายเดิมได้

3.2อุปกรณ์วัดมวล
เครื่องชั่ง เครื่องชั่งเปนเครื่องมือที่จําเปนชนิดหนึ่งของหองปฏิบัติการวิทยาศาสตร เพราะการวิเคราะหสวนใหญเป นการวิเคราะหเชิงปริมาณ(quantitative analysis) ที่ต้องอาศัยเครื่องชั่งชวยในการวิเคราะห 

3.3เลขนัยสำคัญ






4.หน่วยวัด
4.1หน่วยในระบบเอสไอ
ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ หรือ ระบบเอสไอ (อังกฤษ: International System of Units[1]; ฝรั่งเศส: Système international d'unités: SI) เป็นระบบการวัดที่ปรับปรุงมาจากระบบเมตริก โดยเน้นการสร้างมาจากหน่วยฐานทั้งเจ็ดหน่วยและใช้ระบบเลขฐานสิบ ซึ่งถือว่าเป็นระบบการวัดที่ใช้แพร่หลายที่สุดในโลกทั้งในชีวิตประจำวันและทางวิทยาศาสตร์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น